ประวัติความเป็นมา

 

•  ชื่อมหาวิทยาลัย คือ มหาวิทยาลัยรามคำแหง 
          (ชื่อของมหาวิทยาลัยตั้งขึ้นตามพระนามของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระมหา กษัตริย์ไทยที่ได้ทรงริเริ่มคิดประดิษฐ์อักษรไทยขึ้น ซึ่งทำให้ประเทศไทยได้มีอักษรไทยที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของชาติไทยใช้กันต่อมาตราบเท่าทุกวันนี้)

•  อักษรย่อ คือ ม.ร.

•  ชื่อมหาวิทยาลัยภาษาอังกฤษ  คือ Ramkhamhaeng University

•  อักษรย่อ คือ RU

•  ปี พ.ศ. ที่ก่อตั้งมหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการฯจังหวัดชัยภูมิ 
          ใน ปี พ.ศ.2538 เป็นต้นมา มหาวิทยาลัยรามคำแหง ภายใต้การบริหารงานของ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง ศาสตราจารย์ประจำรังสรรค์ แสงสุข ได้ดำเนินการจัดทำ "โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยรามคำแหงสาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ ส่วนภูมิภาค" ขึ้นมา เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่อยู่ในภูมิภาคและท้องถิ่นต่าง ๆ มีโอกาสได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม นำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการดำรงชีพ และพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยมหาวิทยาลัยได้ดำเนินการเปิดสาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติในจังหวัดต่าง ๆ จนปัจจุบันมหาวิทยาลัยได้จัดตั้งสาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติขึ้นแล้วใน 25 จังหวัดทั่วประเทศ โดยเปิดทำการสอนแล้ว 21 จังหวัด

สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดชัยภูมิ เปิดให้มีการเรียนการสอนในปีการศึกษา 2546 โดยเปิดสอน 3 ระดับ คือ ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท และระดับปริญญาเอก โดยมีการจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม การให้บริการนักศึกษาฟังบรรยายสดทางอินเตอร์เน็ต บริการ Course on Demand บริการการเรียนการสอนแบบ e-Learning บริการ e-Books ของตำรากระบวนวิชาต่างๆ ของทางมหาวิทยาลัยฟรี นอกจากนี้สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดชัยภูมิ ยังเร่งปรับปรุงพัฒนาภูมิทัศน์ของสาขาฯ ซึ่งปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงจากเดิมมาก ทำให้มีภูมิทัศน์ที่สวยงาม สะอาด ร่มรื่น อีกด้วย

นับตั้งแต่ปีการศึกษา 2546 เป็นต้นมาที่สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดชัยภูมิ ได้พัฒนาทรัพยากรบุคคลและผลิตบัณฑิตออกไปรับใช้สังคมทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งได้พิสูจน์ให้สังคมยอมรับและประจักษ์ในคุณภาพว่ามีความรู้ ความสามารถ ความวิริยะ อุตสาหะ และมีความรับผิดชอบต่อวิชาชีพที่ได้ศึกษา ตลอดจนมีจิตสำนึกที่ดีต่อสถาบันที่ให้โอกาสทางการศึกษา สมดังปรัชญาของสาขาฯ ที่ว่า “มุ่งพัฒนาการศึกษาสู่ท้องถิ่น สืบสานศิลปวัฒนธรรมไทย ก้าวไกลด้วยเทคโนโลยี”

การจัดตั้งมหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดชัยภูมิ ณ อำเภอบำเหน็จณรงค์  โดยการริเริ่มของนายวุฒิชัย  สงวนวงศ์ชัย  อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชัยภูมิ  เขต 4 และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม  ร่วมกับสมาชิกสภาเทศบาลตำบลบ้านเพชร สมาชิกสภาเทศบาลตำบลบำเหน็จณรงค์ สมาชิกสภาเทศบาลตำบลเทพสถิต สมาชิกสภาเทศบาลตำบลหนองบัวระเหว องค์การบริหารส่วนตำบลจากอำเภอบำเหน็จณรงค์  เทพสถิต หนองบัวระเหว กิ่งอำเภอซับใหญ่ และพี่น้องประชาชน ได้ร่วมมือกันประชุมปรึกษาหารือ แสดงความคิดเห็น เมื่อวันศุกร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2545 ทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วมในการร่วมมือร่วมใจกันสนับสนุน  และได้ดำเนินการเลือกตัวแทนในแต่ละเทศบาล แต่ละองค์การบริหารส่วนตำบล 7 ตำบล ร่วมเป็นคณะกรรมการพิจารณาหาสถานที่ก่อสร้างมหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดชัยภูมิ ตั้งขึ้น ณ อำเภอบำเหน็จณรงค์  ประกอบด้วย

นายกิตติพงศ์  ธรรมโสภารัตน์    นายกเทศมนตรีตำบลบ้านเพชร
     ประธานคณะกรรมการดำเนินการ
นายอาคม  หาญนอก    รองประธานคณะกรรมการดำเนินการ
นายนพ  ภูมิใจศักดิ์    กรรมการ
ผู้แทนขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเพชร               กรรมการ
ผู้แทนขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านชวน                กรรมการ
ผู้แทนขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านตาล                กรรมการ
ผู้แทนขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะมะนาว            กรรมการ
ผู้แทนขององค์การบริหารส่วนตำบลหัวทะเล                กรรมการ
ผู้แทนขององค์การบริหารส่วนตำบลโคกเพชรพัฒนา    กรรมการ
ผู้แทนขององค์การบริหารส่วนตำบลโคกเริงรมย์           กรรมการ
นายสมชาย  คำพิทักษ์    กรรมการและเลขานุการ

คณะกรรมการพิจารณาหาสถานที่ก่อสร้างมหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดชัยภูมิ โดยลงมติให้จัดตั้งขึ้น ณ บ้านโคกต่ำสามัคคี ตำบลโคกเริงรมย์ อำเภอบำเหน็จณรงค์ เนื้อที่ 162 ไร่ 60 ตารางวา เดิมใช้สถานที่ของโรงเรียนบำเหน็จณรงค์วิทยาคมเป็นสำนักงานชั่วคราว จากนั้นวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2549 ได้ย้ายมาอยู่ ณ อาคารเรียนรวมและปฏิบัติการ ตำบลโคกเริงรมย์ อำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิจนถึงปัจจุบัน

ปรัชญา

“มุ่งพัฒนาการศึกษาสู่ท้องถิ่น สืบสานศิลปวัฒนธรรมไทย ก้าวไกลด้วยเทคโนโลยี”

ปณิธาน

สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดชัยภูมิ มุ่งเน้นสนับสนุนและส่งเสริมการ ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้คู่คุณธรรม


ข้อมูลตัวอย่าง อ้างอิงจาก : http://www.oasc.ru.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=264&Itemid=165